ฝีดาษลิง โผล่ไทยแล้ว ! สธ. ยืนยันพบผู้ป่วยที่ จ.ภูเก็ต ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก
กรมควบคุมโรค แถลงข่าวพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิง ที่ จ.ภูเก็ต เป็นรายแรกของประเทศไทย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก เปิดข้อมูลโรคนี้ติดต่อกันอย่างไร
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง จึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กองระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย
ผู้ป่วยให้ข้อมูลการป่วยว่า เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค ผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต เพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม พร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโรค ไม่ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอย่างไร
จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษวานร เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง จึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กองระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย
ผู้ป่วยให้ข้อมูลการป่วยว่า เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค ผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต เพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม พร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโรค ไม่ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอย่างไร
จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษวานร เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ภาพจาก กรมควบคุมโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค